การวัดแสงคืออะไร
การวัดแสง คือ การกำหนดขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้ได้ค่าแสงที่พอดี คือมีค่าใกล้เคียงกับสีเทามาตรฐาน 18% ในสภาพแสงหนึ่งๆ
การวัดแสง คือ การกำหนดขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้ได้ค่าแสงที่พอดี คือมีค่าใกล้เคียงกับสีเทามาตรฐาน 18% ในสภาพแสงหนึ่งๆ
ระบบการวัดแสงมีกี่แบบ
ในกล้องดิจิตอลจะมีระบบการวัดแสง 3 แบบด้วยกัน
ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ (Average หรือ Evaluative Metering, [ ] ) เป็นระบบการวัดแสงที่เอาพื้นที่ทั้งหมดของภาพมาคิดคำนวณหาขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่ให้ค่าแสงพอดี ซึ่งระบบวัดแสงแบบนี้จะแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ จากนั้นจะนำเอาทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างมาหาค่าเฉลี่ย ระบบวัดแสงแบบนี้ให้ความแม่นยำได้ดีในสภาพแสงที่มีความแตกต่างของแสงไม่มาก ยกตัวอย่างเช่น ภาพทิวทัศน์ การวัดแสงนี้ยังให้ความสะดวกและรวดเร็ว เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ไม่ต้องการความแม่นยำในการวัดแสงมากนัก เช่น ภาพงานพิธีต่างๆ, ภาพแคนดิด
ในกล้องดิจิตอลจะมีระบบการวัดแสง 3 แบบด้วยกัน
ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ (Average หรือ Evaluative Metering, [ ] ) เป็นระบบการวัดแสงที่เอาพื้นที่ทั้งหมดของภาพมาคิดคำนวณหาขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่ให้ค่าแสงพอดี ซึ่งระบบวัดแสงแบบนี้จะแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ จากนั้นจะนำเอาทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างมาหาค่าเฉลี่ย ระบบวัดแสงแบบนี้ให้ความแม่นยำได้ดีในสภาพแสงที่มีความแตกต่างของแสงไม่มาก ยกตัวอย่างเช่น ภาพทิวทัศน์ การวัดแสงนี้ยังให้ความสะดวกและรวดเร็ว เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ไม่ต้องการความแม่นยำในการวัดแสงมากนัก เช่น ภาพงานพิธีต่างๆ, ภาพแคนดิด
ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted Average หรือ Pattern Metering, [ ๏ ] ) เป็นระบบการวัดแสงที่เอาพื้นที่ทั้งหมดของภาพมาคิดคำนวณหาขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่ให้ค่าแสงพอดี แต่จะมีการเน้นหนักไปบริเวณกึ่งกลางภาพ ซึ่งการให้น้ำหนักจะแตกต่างไปแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ยกตัวอย่าง ให้น้ำหนักของการวัดแสงตรงกลางภาพ 75% ส่วนรอบนอกให้น้ำหนัก 25% เป็นต้น การวัดแสงแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับภาพที่ตากล้องต้องการให้ค่าแสงพอดีเน้นไปที่กึ่งกลางภาพ เช่นการถ่ายภาพบุคคล, มาโคร
ระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot หรือ Partial Metering, [ • ] ) เป็นระบบวัดแสงที่ใช้พื้นที่ตรงกึ่งกลางของภาพเพื่อคำนวณหาขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่ให้ค่าแสงพอดี ยิ่งพื้นที่มีขนาดเล็กมาก จะให้ความแม่นยำที่สูง แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดสูงเช่นกัน เพราะหากจุดที่จะวัดแสงเลื่อนไปแค่นิดเดียว ค่าเปิดรับแสงที่วัดได้ก็จะเปลี่ยนไป ระบบการวัดแสงแบบนี้เหมาะสำหรับสภาพแสงที่แตกต่างกันมากๆ(high contrast) เช่น การถ่ายภาพย้อนแสง, การถ่ายภาพพระจันทร์
ที่จริงแล้วระบบการวัดแสงทั้งสามที่กล่าวมาสามารถใช้แทนกันได้ทุกสถานการณ์ หากมีรู้เกี่ยวกับ “การชดเชยแสง” --ตัวอย่าง ในการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสง ในระบบการวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ ภาพที่ได้จากค่าแสงพอดีจะทำให้หน้าตัวแบบมืด หลายคนอาจเลี่ยงไปใช้การวัดแสงเฉพาะจุด แต่จริงๆแล้วสามารถที่จะทำให้หน้าของตัวแบบสว่างขึ้นได้ โดยใช้การชดเชยแสง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น